Stagflation คืออะไร ? ประเทศไทยมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่ ?
ท่ามกลางวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน ในแวดวงการเงินเริ่มมีการพูดถึงคำว่า Stagflation ซึ่งสำหรับคนทั่วไปอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” เปิดความหมายคำศัพท์ทางการเงิน โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญและสถาบันการเงิน ดังนี้ นิยามคำว่า Stagflation มาจาก 2 คำ ได้แก่ Stagnation คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือไม่ขยายตัว Inflation คือ ระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยปกติ “Stagflation” จะเกิดขึ้นในภาวะเศรษฐกิจข้าวยากหมากแพง เช่น การเจอภัยธรรมชาติพืชผลมีราคาแพงขึ้น และมีความเสียหายต่อภาคการผลิต สถานการณ์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หากดูประเทศไทย ในภาวะปัจจุบันมีความใกล้เคียง หรือ คล้ายคลึงกับคำว่า “Stagflation” แม้ว่าไม่ได้เกิดจากความเสียหายภาคการผลิต แต่เกิดจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นการขาดแคลนพลังงานจนกระทบภาคการผลิต แต่มีความกังวลว่าราคาพลังงานจะปรับตัวสูงขึ้นหรือแพงขึ้นเป็นเวลานาน จนกระทบ ภาคการผลิต ทำให้ภาคการผลิตแบกรับต้นทุนไม่ไหว […]